Welcome to Khwanta Blog

ยินดีต้อนรับคะ

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชนกับการศึกษา

เนื่องจากเทคโนโลยีด้านสื่อมวลชนได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันเพิ่มขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดและความเป็นอยู่ของคนในสังคมมีส่วนทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่สูงมาก ส่วนจะเปลี่ยนแปลงไปในทางใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระที่นำมาเสนอว่าจะเน้นในด้านใด

สื่อมวลชน (Mass Communication) หมายถึงกระบวนการนำสารหรือการส่งสารไปยังคนจำนวนมาก ค่อนข้างสลับซับซ้อนกว่าการสื่อสารประเภทอื่น ผู้ส่งสารอาจเป็นกลุ่มบุคคลซึ่งรวมตัวกันเป็นองค์การหรือสถาบันก็ได้ และผู้รับสารจำนวนมากนั้นมักจะอยู่กระจัดกระจายไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ต่อกัน ด้วยเหตุที่ปฏิกิริยาโต้ตอบที่เกิดขึ้นจากผลของการสื่อสารซึ่งไม่ปรากฏโดยตรงหรือทันทีทันใด แต่มักจะแสดงออกในรูปของความพอใจหรือไม่พอใจ โดยสังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้รับ ถ้าพอใจมักจะปฏิบัติบ่อยหรือการทำซ้ำ ๆ การนำเอาวิธีการของการสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการเรียนการสอน เราเรียกว่า “การสื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษา” และเรียกตัวกลางหรือสื่อซึ่งนำไปยังคนจำนวนมากว่า “สื่อมวลชนทางการศึกษา”

และสื่อมวลชนก็มีบทบาทและหน้าที่ดังนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมให้ประชาชนทราบตามข้อเท็จจริงโดยไม่จำเป็นต้องสอดแทรกความคิดเห็นใด ๆ ลงไป2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ โดยมุ่งให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน คลายความเครียด และมีสุขภาพจิตที่ดี ได้แก่ รายการเพลง ดนตรี ละคร นิยาย เป็นต้น4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า เช่น การโฆษณา และประชาสัมพันธ์หน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต่สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้1.การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ2.การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน 3.การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษา

และจากบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนที่กล่าวข้างต้นนี้ ทำให้ทราบว่าสื่อมวลชนนั้นมีอิทธิพลมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อที่เรียกว่า “โทรทัศน์” เพราะเป็นสื่อที่สามารถสัมผัสได้โดยตรง ซึ่งสัมผัสได้ทั้งภาพและเสียง ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาสาระได้อย่างชัดเจน โทรทัศน์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการนำเสนอข่าวสารเหตุการณ์ต่าง ๆ และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มากที่สุดเช่นกัน โดยเฉพาะเยาวชนที่มักจะเลียนแบบดารา นักร้องที่เขาชื่นชอบไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ดีและไม่ดี เขาก็จะทำตาม โดยไม่รู้ว่าถูกหรือผิด เช่น ดาราบางคนเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับโครงการเมาไม่ขับ แต่กลับเมาเสียเอง อย่างนี้เป็นต้น สืบเนื่องมาจากโทรทัศน์เป็นสื่อที่เข้าถึงทุกครัวเรือนซึ่งทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารได้ง่ายที่สุด

และในปัจจุบันสื่อที่เรียกว่า “โทรทัศน์” ก็ได้มาการจัดเรตติ้งขึ้นโดยกรมประชาสัมพันธ์ได้จัดประเภทรายการทีวีโดยมีสัญลักษณ์แบ่งประเภทของรายการขึ้นอยู่ข้างจอทีวี เพื่อช่วยให้ประชาชนได้เลือกรับชมรายการต่างๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะ โดยแบ่งระดับตามตัวอักษรได้แก่
ท. คือรายการทั่วไป
ด. คือรายการเด็ก
น.13 คือรายการที่ต้องแนะนำเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปี
น.18 คือรายการที่ต้องแนะนำเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี
และ ฉ. คือรายการเฉพาะผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ซึ่งข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการจัดเรตติ้งทีวีและคิดว่าน่าจะทำขึ้นมาตั้งนานแล้วเพราะทุกวันนี้เทคโนโลยีมีความทันสมัย การที่จะไปควบคุมเป็นไปได้ยาก ซึ่งสถาบันการศึกษาเน้นผลิตบุคลากรนิเทศศาสตร์ให้มีคุณธรรมและจริยธรรมอยู่แล้ว แต่เมื่อนักศึกษาจบไปการทำงานก็จะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรเป็นหลัก ดังนั้น ควรที่จะต้องไปขอความร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย
การจัดเรตติ้งนี้ทำให้สามารถแบ่งประเภทเกี่ยวกับรายการได้เหมาะสมกับวัย เพื่อได้คำแนะนำกับบุคคลที่ดูอย่างเหมาะสม และช่วยให้สื่อโทรทัศน์ได้ปรับเปลี่ยนตามผลโหวต ทำให้แต่ละรายการมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น แต่ข้าพเจ้าขอติเรื่องสัญลักษณ์ที่ใหญ่เกินไป ควรทำสัญลักษณ์ให้เล็กกว่านี้ เพราะบางครั้งมันทำให้เสียอรรถรสในการชมรายการโทรทัศน์ แต่โดยภาพของการจัดเรตติ้งทีวีถือว่าดีมาก

และสิ่งที่ได้รับความนิยมที่สุดในขณะนี้ก็คือการส่ง “SMS” ซึ่งย่อมาจากคำว่า “Short Messaging Service” เป็นบริการเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล ที่ทำให้ผู้ใช้มือถือดังกล่าวสามารถสื่อสาร และส่งข้อความประเภทที่เป็นตัวอักษร ตอบโต้กันได้อย่างรวดเร็ว เป็น บริการเสริมจากบริการทางด้านเสียงเพื่อการสื่อสารหรือบริการหลัก ที่มีมาพร้อมๆ โทรศัพท์ระบบดิจิตอล SMS เพิ่งจะได้รับความ นิยมอย่างมากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้เอง บริการในเบื้องต้นเป็นการส่งข้อความกันในลักษณะของ Personal-to-Personal เท่านั้น แล้วตามมาด้วยบริการบริการดาวน์โหลด และล่าสุด มีการนำ SMS มาโหวตในรายการโทรทัศน์
ผลดีของ SMS
1. เป็นวิธีการสื่อสารที่เร็วที่สุด ใช้งานง่าย และสะดวก
2. สามารถส่งได้ทั้งภาพและเสียง
3. ทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่างอิสระเสรี
ผลเสียของ SMS
1. ทำให้ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ , ผู้พัฒนาคอนเท้นต์ และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้โอกาสนี้เป็นช่องทางในการสร้างรายได้โดยการนำรูปแบบบริการส่ง SMS ผ่านรายการทีวี อย่างเช่น รายการ อเคเดมี่ แฟนตาเซียและเดอะสตาร์ ที่ให้ประชาชนโหวตผู้แข่งขันที่ชื่นชอบโดยการให้ส่ง SMS เข้าไปในรายการ
2. การส่ง SMS เข้าไปแสดงความคิดเห็นในรายการต่าง ๆ ที่อิสระเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสังคมทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน
3. เสียค่าใช้จ่ายในการส่ง SMS โดยไม่จำเป็น

และจากกการที่เรานั้นบริโภคสื่อทุกวันก็ทำให้เราเห็นว่า “สื่อมวลชนเปรียบเหมือนดาบสองคม” เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ทก็มีทั้งประโยชน์และโทษ นั่นก็มีลักษณะเช่นเดียวกับ สื่อมวลชนที่จะต้องมีด้านหนึ่งให้ประโยชน์และมีอีกด้านหนึ่งที่ให้โทษ
ในด้านที่เป็นประโชน์ก็คือ เป็นการย่อโลกให้แคบลงเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความคิดที่กว้างขึ้น และทันโลก ทันเหตุการณ์มากขึ้น และช่วยพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
และในด้านที่ให้โทษ ก็คือ การสื่อสารที่ไร้พรมแดนและขอบเขตจำกัดได้รุกล้ำอธิปไตยทางวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ โดยความเป็นตะวันตกได้หลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ ซึ่งหลายประเทศก็ถูกวัฒนธรรมต่างชาติกลืนความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไป
ซึ่งทั้งหลายทั้งมวลที่กล่าวมานี้ก็ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะสามารถนำเอาประโยชน์และโทษของสื่อมวลชนมาใช้ได้อย่างไรและใช้ไปในทิศทางใดจึงจะมีคุณค่าต่อตนเองมากที่สุด


ปัจจุบันได้มีการนำเอาสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์กับ การศึกษาหรือการเรียนการสอน
ประโยชน์ของสื่อมวลชนที่มีต่อการศึกษา
1. สามารถแพร่กระจายความรู้เนื้อหาสาระในสาขาวิชาต่าง ๆ ไปสู่คนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้กว้างขวางขึ้น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกมนุษย์
2. เปิดโอกาสให้ประชาชนที่กระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีโอกาสได้รับประโยชน์ทางการศึกษาเท่าเทียมกัน เป็นการขยายห้องเรียนให้กว้างออกไป โดยผู้เรียนไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียน แต่สามารถเรียนได้ตามลำพังและตลอดเวลา
3. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัสดุการศึกษาของระบบโรงเรียน ทั้งด้านสถานที่ บุคลากร สื่อการเรียนการสอน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ห้องเรียนไม่พอ ขาดผู้สอนที่มีประสบการณ์ สื่อการสอนที่จำเป็นมีจำกัด ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ได้โดยอาศัยสื่อมวลชนเข้าช่วยปรับปรุงการสอนของครูซึ่งมีความสามารถแตกต่างกัน ให้มีคุณภาพดีใกล้เคียงกัน โดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อในการถ่ายทอดเทคนิควิธีการ ด้วยการให้คำแนะนำและสาธิตการสอนผ่านสื่อมวลชนโดยเฉพาะวิทยุโทรทัศน์ได้ผลดีมาก
4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของรัฐ ถ้าได้มีการวางแผนเตรียมการัดกุมจะสามารถจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนได้ครอบคลุม ต่อเนื่องและมีคุณภาพคุ้มกับการลงทุน

ซึ่งมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาโดย
1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง 2.ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ3.ใช้เป็นสื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้4.ใช้เป็นสื่อเพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้5.ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน 6.ใช้เป็นสื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน 7. ใช้เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้8. ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด9. ใช้เพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ 10. ใช้เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์11. ใช้เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม

สื่อมวลชน คือ หมายถึง สื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆ ไปสู่ประชาชนหรือมวลชน ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดู หรือการอ่าน ประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น ซื่งสื่อมวลชนก็ให้ทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประชาชนว่าจะใช้สื่อมวลชนในทิศทางใดและใช้อย่างไรจึงจะเกิดคุณค่าต่อตนเองให้มากที่สุด ซึ่งจะต้องเป็นไปในทางที่ดีด้วย
สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา เป็นการนำเอาสื่อมวลชนมาใช้เพื่อการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนจำนวนมากที่อยู่กระจัดกระจายในเวลาเดียวกัน ซึ่งการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาจะให้ประโยชน์กับการศึกษาหลายประการ คือ การแพร่กระจายความรู้เนื้อหาสาระในด้านต่าง ๆ ไปสู่คนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ประชาชนที่กระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัสดุการศึกษาของโรงเรียนและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของรัฐ

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โห! เป็นคนแรกเลยหรอเนี่ย
น่าภูมิใจจริงๆๆ
แต่เขียนได้ไงง่า
สุดยอด
ยกนิ้วให้เลยครับ
^^